งานบริการด้านวิศวกรรมสำรวจและออกแบบรายละเอียด โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองด่านขุนทด
ความเป็นมาของโครงการ
อำเภอด่านขุนทด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก เนื่องจากมีการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมทางหลวง จึงมีแผนดำเนินการโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองด่านขุนทด เพื่อช่วยให้การเดินทาง การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้า มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
จากการตรวจสอบพื้นที่โครงการเบื้องต้นพบว่า แนวเส้นทางของโครงการผ่านพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อม 1 แห่งได้แก่ โบราณสถาณโนนดอกรัก จึงเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 ดังนั้น กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท วิชชากร จำกัด และบริษัท เอ็นทิค จำกัด ดำเนินการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองด่านขุนทด พร้อมจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด
วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงการ
- เพื่อดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางด้านวิศวกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงด่านขุนทด เป็นระยะทางประมาณ 12.5 กิโลเมตร
- เพื่อยกระดับมาตรฐานทางหลวงให้เป็น 4 ช่องจราจรหรือมากกว่า พร้อมทั้งเพิ่มมาตรฐานงานก่อสร้างทางแนวใหม่
- เพื่อแก้ไขการจราจรที่หนาแน่น ช่วยลดอุบัติเหตุ อำนวยความสะดวก ความปลอดภัยในการสัญจรและพัฒนาคุณภาพการบริการของระบบทางหลวง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
1) เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและช่วยให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
2) พัฒนาโครงข่ายคมนาคมในเขตอำเภอเมืองด่านขุนทด และพื้นที่ใกล้เคียงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3) ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทาง แก้ปัญหาการจราจรที่แออัดและหนาแน่นในตัว